WELCOME TO MY BLOG
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย

Peer-to-peer ( ad hoc mode )

  •      รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จํานวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ   wireless adapter cards  โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน                         
  • Client/server (Infrastructure mode)                                                                             ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดย อาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทําหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้ สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูdข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะ สามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต่องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสําหรับการนําไปขยายเครือ ข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการทํางานให้มากขึ้น
Multiple access points and roaming
      
  • การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไรสายจะ อยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับ ส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
     แนวโน้มของระบบเครือข่ายไร้สาย
  •      ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายมีการพัฒนาที่รวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป อย่างเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง
  •          ในอนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็นระบบเครือข่ายไร้สายที่ทํางานได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากการ พัฒนาในเทคนิคการมอดูเลตสัญญาณคลื่นวิทยุ
  •         การพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ในระดับพื้นฐานช่วยกระตุ้นให้ระบบเครือข่ายไร้สายพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว เช่นคลื่นความถี่วิทยุที่สร้างจากสาร Galliumarsenide และ ชิป DSP เป็นต้น