WELCOME TO MY BLOG
ระบบการส่งข้อมูล
การถ่ายโอนข้อมูล
•  เป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง การถ่ายโอนข้อมูลสามารถจัดจำแนกได้ 2 แบบ คือ
     การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
     การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม 
1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
             ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน 


2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
      ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสำหรับกาสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียวการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิตให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 ดังแสดงในรูป 



การติดต่อแบบอนุกรมอาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
  1) สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
  2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
  3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

ทิศทางการส่งข้อมูล
  แบ่งออกได้ดังนี้
1.ซิมเพล็กซ์ (Simplex tranmission)
       ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทาง เดินรถแบบทางเดียว
–     ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่นเครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว

ภาพแสดงทิศทางการส่งข้อมูล



2.ฮาฟ-ดูเพล็กซ์ (Half -duplex transmission)                                                         ข้อมูลสามารถเดินทางไปได้ทั้งสองทิศทาง แต่ต้องไม่ใช่ในเวลาเดียวกัน เหมือนกับการเดินรถตรงช่วงข้ามสะพานแคบๆ ไม่สามารถสวนทางกันได้ต้องสลับกัน                          -      ตัวอย่างเช่น การสื่อสารด้วยวิทยุที่ใช้ในหน่วยทหาร,   ดับเพลิง หรือตำรวจ                   เป็นต้น คู่สนทนาจะต้องสลับกันพูด การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้             แบบฮาฟ-ดูเพล็ก
3. ฟูล-ดูเพล็กซ์ (Full -duplex transmission)                                                        ข้อมูลสามารถถูกส่งไปและกลับได้ในเวลาเดียวกัน เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่อง  ทางเดินรถแบบสองทาง รถยนต์สามารถวิ่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน
–     ตัวอย่างเช่น การสนทนาโดยโทรศัพท์ คู่สนทนาสามารถพูดและฟังในเวลาดียวกันได้ นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่